เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[1483] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุ-
ปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุโดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุ
นั้น ราคะย่อมเกิดขึ้น โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว
ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และหทยวัตถุ
และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้น
นั้น ราคะย่อมเกิดขึ้น โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว
ตทารัมมณจิต อันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
คันธายตนะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1484] 2. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะย่อม
เกิดขึ้น โทมนัสย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลพิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และหทยวัตุถุ และขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะย่อมเกิดขึ้น
โทมนัสย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยทิพยจักษุ, รู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยเจโตปริย-
ญาณ.
ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1485] 3. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณากุศล
นั้น, พิจารณากุศลที่สั่งสมดีแล้วในกาลก่อน, ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน.
พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู, พิจารณาโวทาน, พิจารณากิเลส
ที่ละแล้ว, พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้กิเลสที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน, พิจารณา
เห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นอนุปาทินนุปาทินนุปานิยธรรม และ
ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์

เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภรูปเป็นต้นนั้น
ราคะย่อมเกิดขึ้น โทมนัสย่อมเกิดขึ้น.
เห็นรูปที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วย
ทิพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิย-
ธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.
อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย.
ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังส-
ญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1486] 4. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นรูปที่เป็นอนุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม . . . เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม
และขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภรูปเป็นต้นนั้น
ราคะย่อมเกิดขึ้น โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทา-
รัมมณจิตอันเป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น.

อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนวิบาก ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย.
อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
รูปายตนะที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1487] 5. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุ-
ปาทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย.
[1488] 6. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลาย ออกจากมรรค แล้วพิจารณามรรค, พิจารณา
ผล, พิจารณานิพพาน, นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
พระอริยะทั้งหลาย รู้จิตของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอนุปาทินน-
อนุปาทานิยธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.

3. อธิปติปัจจัย


[1489] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะการทำจักษุให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น. บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ
โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ
ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ราคะย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น.
2. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วกระทำกุศล
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
กระทำกุศลที่สั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา.
ออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา.